ทำไม? 29 กุมภาพันธ์ 4 ปี ถึงมีแค่ครั้งเดียว

Last updated: 21 ก.พ. 2563  |  19962 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไม? 29 กุมภาพันธ์ 4 ปี ถึงมีแค่ครั้งเดียว



     29 กุมภาพันธ์ 2563 คงเป็นวันพิเศษของใครหลายคนที่มีวันเกิดวันนี้ เนื่องจาก 4 ปี จึงจะมีวันคล้ายวันเกิดที่ตรงเป๊ะๆ แบบนี้ หลายคนอาจรู้สึกพิเศษที่มีวันเกิดเป็น Rare Item อีกซึ่งไม่ได้มีกันง่ายๆ หรือหลายคนอาจรู้สึกสงสัย...ไปดูกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

   • เดือนน้องใหม่ "กุมภาพันธ์"

     กำเนิดเดือนกุมภาพันธ์ ถือกำเนิดพร้อมเดือนมกราคม โดยจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาล จากเดิมที่ปฏิทินโรมันมีแค่ 10 เดือน ซีซาร์กำหนดให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 หรือ 30 วัน จนมาถึงสมัยกษัตริย์ออกัสตุส ลูกบุญธรรมของซีซาร์ ได้เปลี่ยนชื่อเดือนเกิดของพระองค์ เป็น August (สิงหาคม) และทรงเห็นว่าเดือนนี้มี 30 วัน เป็นเลขคู่ ถือเป็นเดือนโชคร้าย จึงไปดึงวันจากเดือนเกิดใหม่อย่างกุมภาพันธ์มาใส่ ทำให้เดือนสิงหาคมมี 31 วัน และเดือนกุมภาพันธ์เหลืออยู่ 28 วัน และมีเพิ่มเป็น 29 วันในปีอธิกสุรทิน

  • ทำไมบางปีเดือนกุมภาพันธ์ต้องมี 29 วัน?

    เนื่องจากใน 1 วัน หากนับกันแบบละเอียดจะมีแค่ 23.56.1 ชั่วโมง และ 1 ปี มี 365.24224 วัน ไม่ใช่ 24 ชม. และ 365 วันอย่างที่เรานับกันถ้วนๆ ส่งผลให้ทุก 4 ปี จะมีเศษเวลารวมแล้วประมาณ 1 วัน จึงเกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ (Leap Day : อธิกวาร) เพื่อชดเชยเวลาดังกล่าว และเพื่อให้การนับสอดคล้องกับตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ โดยปีที่มี 366 วัน จะเรียกกันว่าปี "อธิกสุรทิน" หรือ Leap year

• ปีไหนจะมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์บ้าง?

คิดได้ง่ายๆ คือ ถ้าปีคริสต์ศักราชใดหารด้วย 4 ลงตัว ก็จะเป็นปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ แต่การเพิ่มวันทุก 4 ปี ก็ทำให้ทุก 400 ปี มีวันเกินไปราว 3 วัน เพื่อชดเชยกรณีนี้ ปีที่สิ้นสุดศตวรรษจึงมิใช่ปีอธิกสุรทิน ยกเว้นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้